วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560






ความรู้ที่ได้รับ

ความสำคัญของสื่อ

   - เป็นเครื่องมืส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
   - เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกว่า "ไม่ใช่การเรียน"
สื่อมี 3 ประเภท
   - สื่อการสอนประเภทวัสดุ คือ สื่อการสอนที่มีการใช้สิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ ฯ
   - สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือ สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น เรื่องเสียง เครื่องฉาย การดานดำ ฯ
   - สื่อการสอนประเภทวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ ฯ
การเล่นของเด็กปฐมวัย
   - ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
   - คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
   - ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
   - ประโยชน์ของการเล่น
   - วิธีการส่งเสริมของการเล่นของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3) น้ำเสียง

ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
      การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นโอกาสของการฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบ ทั้งนี้ รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์


การประเมินการใช้สื่อ

     1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
     2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
     3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
     4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
     1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
     2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
     3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
     4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
     5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น