วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่ 2
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ


 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ช่วงปฐมวัยควรให้ความสำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยคือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ชอบเล่น มีช่วงความสนใจสั้น ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1.การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการที่เด็กได้สัมผัสประสบการณ์ตรง
2.การเรียนรู้จากประสบการณ์อ้อม การบอกเล่าจากบุคคลต่างๆ
การเรียนรู้จะมีกระบวนการคือ
1.มีสิ่งมาเล่า
2.ผู้เรียนรับสิ่งเล้า
3.แปลความหมายของสิ่งเล้า
4.มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น


รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่าง ความเหมือน
2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ


กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี  พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่ง
กระตุ้น (Sensitive)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
1.ความจำ (knowledge)
2.การประยุกต์ (Application)
3.ความเข้าใจ (Comprehend) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
4.การสังเคราะห์ (Synthesis)
5.การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม
6.การประเมินค่า (Evaluation) สามารถวัดได้ เน้นโครงสร้างใหม่ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์(BRUNER)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น