วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2560




กิจกรรมของวันนี้คือ ให้ทำการ์ดดอกไม้ 

อุปกรณ์ 
     1. สีไม้
     2. กระดาษ A4 (ขาวและสี)
     3. กระดาษโปสเตอร์สีสองหน้า
     4. กาว
     5. กรรไกร คัดเตอร์









บันทึกการเรียนรู้ครั้งครั้งที่ 5 
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560






ความรู้ที่ได้รับ


                                                  กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
             การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ
 เกม (Games)
         นักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ

เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม

แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
          1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
         1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ


ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
1) ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
2) เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
3) มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
4) เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที


วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

การทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560



ความรู้ที่ได้รับ

สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
             “สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
     1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
     2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
     3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
     4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
     5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
     6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
     7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
     8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
     9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
    10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
    11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
    12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
    13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
    14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
    15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย

    1. มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
     2. มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
     3. มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
     4. ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
     5. มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
    
การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

1. การเลือกสื่อ
     1. ต้องมีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก พื้นผิวของวัตถุเรียบ ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
    2. คำนึงถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับ สามารถเร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นพัฒนาการ และต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
     3. ความประหยัด ทั้งเงิน ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป ประหยัดในแง่ของวัสดุ
     4. ด้านประสิทธิภาพ ต้องใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส และให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง

2. วิธีการเลือกสื่อ
      - เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
      - เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
      - เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
      - มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
      - มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
      - มีคุณภาพดี
      - เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน
      - สื่อที่เลือกเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้
      - เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด
      - เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้

หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
     1. สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
     2. วางแผนในการผลิต
     3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
     4. ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น


การนำเสนอสื่อ
     1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
     2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
     3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
     4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
     5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
     6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560






ความรู้ที่ได้รับ

ความสำคัญของสื่อ

   - เป็นเครื่องมืส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
   - เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกว่า "ไม่ใช่การเรียน"
สื่อมี 3 ประเภท
   - สื่อการสอนประเภทวัสดุ คือ สื่อการสอนที่มีการใช้สิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ ฯ
   - สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือ สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น เรื่องเสียง เครื่องฉาย การดานดำ ฯ
   - สื่อการสอนประเภทวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ ฯ
การเล่นของเด็กปฐมวัย
   - ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
   - คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
   - ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
   - ประโยชน์ของการเล่น
   - วิธีการส่งเสริมของการเล่นของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3) น้ำเสียง

ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
      การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นโอกาสของการฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบ ทั้งนี้ รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์


การประเมินการใช้สื่อ

     1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
     2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
     3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
     4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
     1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
     2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
     3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
     4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
     5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่ 2
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ


 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ช่วงปฐมวัยควรให้ความสำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยคือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ชอบเล่น มีช่วงความสนใจสั้น ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1.การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการที่เด็กได้สัมผัสประสบการณ์ตรง
2.การเรียนรู้จากประสบการณ์อ้อม การบอกเล่าจากบุคคลต่างๆ
การเรียนรู้จะมีกระบวนการคือ
1.มีสิ่งมาเล่า
2.ผู้เรียนรับสิ่งเล้า
3.แปลความหมายของสิ่งเล้า
4.มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น


รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่าง ความเหมือน
2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ


กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี  พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่ง
กระตุ้น (Sensitive)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
1.ความจำ (knowledge)
2.การประยุกต์ (Application)
3.ความเข้าใจ (Comprehend) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
4.การสังเคราะห์ (Synthesis)
5.การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม
6.การประเมินค่า (Evaluation) สามารถวัดได้ เน้นโครงสร้างใหม่ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์(BRUNER)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ.2560



ความรู้ที่ได้รับ

-ปฐมนิเทศน์
- ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน

การประเมิน

ตัวเอง : ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี
เพื่อน: ซักถามอาจารย์
อาจารย์ : อธิบายรายละเอียดวิชาอย่างครบถ้วน